วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บ้านนาขุนแสน (หมู่บ้าน ไท-ยวน)

หมู่บ้านนาขุนแสน (หมู่บ้าน ไท-ยวน)


หมู่บ้านนี้มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยรัฐกาลที่ 1 โดยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าให้เจ้าเมืองเชียงแสนย้ายมาอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งส่วนใหญ่ก็ย้ายมาอยู่ที่บ้านนาขุนแสน ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 โดยชาวบ้านนาขุนแสนได้เล่าว่าสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวเชียงแสน ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาไทยหรือโยนก เรียกตัวเองว่า ญวนหมู่บ้านเดิมเรียกว่า ท่าสะแก ต่อมาแยกหมู่บ้านเป็นนาขุนแสน (ฝั่งซ้ายล้าน้ำชี) ที่มาของชื่อหมู่บ้านมาจากการที่มีทหารพม่ามาตั้งค่ายอยู่บริเวณหมู่บ้าน พอทหารพม่าย้ายกลับจึงเรียกว่า วัดประชุมพลแสน (พลแสนทหารพม่ามาตั้งค่ายเป็นแสน) จึงเป็นหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชื่อหมู่บ้านในปัจจุบันกลายเป็นบ้านนาขุนแสน แต่ส้าหรับวัดยังชื่อ วัดประชุมพลแสน



สิ่งสักการะภายในวัดประชุมพลแสน

เมื่อเดินทางเข้าไปภายในบริเวณวัดก็จะพบศาลาหลวงพ่อแกละ ผู้คนสัณจรมานมัสการเชื่อว่า หากท่านใดมาขอพรหลวงพ่อแกละ แล้วเชื่อว่าจะมีแต่ความโชคดีโดยเฉพาะ เรื่องของความแคล้วคลาด ปลอดภัย ภายในวัดก็จะมี พระเจ้าตากสิน ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง

นมัสการหลวงพ่อแกละ



จุดนมัสการศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง

พระเจ้าตากสิน



ประเพณี

มีการจัดงานประเพณีทั่วๆไปคล้ายกับหมู่บ้านอื่น ได้แก่ งานวันสงกรานต์งานลอยกระทงงานวันเข้าพรรษา ออกพรรษา แต่จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของชาวไท-ยวนที่สืบทอดมาอย่างยาวนานที่แตกต่างจากหมู่บ้านอื่นๆทั่วไป ได้แก่ เพลงพื้นบ้าน รำวงพื้นบ้าน เป็นต้น  และยังมีประเพณีเด่น ๆ อื่นๆ อีก ได้แก่
1.ประเพณีสลากภัตร เป็นประเพณีที่ชาวบ้านจะมีการทำเครื่องอัฐบริขารเพื่อถวายพระสงค์ในช่วงเข้าพรรษา  ซึ่งเป็นประเพณีที่คล้ายๆกับของทางภาคเหนือ
2.ประเพณีทำบุญกลางบ้าน เดือน 6 เป็นการประชุมกันของชาวบ้าน ซึ่งจะนำอาหารทั้งคาวและหวานมาเลี้ยงพระกลางสี่แยก  ช่วงเวลาที่จะทำประเพณีนี้คือ  เดือน 6 ของทุกๆปี
3.ประเพณีถวายเครื่องเซ่นไหว้เจ้าพ่อสี่วัย และ เจ้าแม่พิมพา จะจัดขึ้นในเดือน 5 ของทุก ๆ ปี ชาวบ้านจะนำเครื่องเซ่นไหว้  อันประกอบไปด้วย  ไก่หนุ่ม  ไก่แก่  เหล้าขาว  ขนมต้มแดงต้มขาว  มาถวายที่ศาลของเจ้าพ่อ   แต่หากชาวบ้านคนไหนที่ไม่สะดวกมาถวายที่ศาล ก็สามารถถวายที่บ้านได้ โดยทำการเรียกเจ้าพ่อเจ้าแม่ให้มารับของเซ่นไหว้ที่บ้านได้เช่นเดียวกัน
4.ประเพณีการรับขวัญเด็ก เป็นการรับขวัญเด็กทารกแรกเกิด  หลังออกจากโรงพยาบาล  โดยมีวิธีการคือ   เมื่อได้ฤกษ์งามยามดี บรรดาวงญาติต่างมาชุมนุมล้อมกันเป็นวงกลม ให้เด็กที่ทำพิธีรับขวัญอยู่ตรงกลาง จะนำเด็กใส่ไว้ในกระด้ง  หากผู้ปกครอง ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้องคนไหน อยากให้เงินก็เอาเงินใส่  อยากให้ทองก็เอาทองใส่ ผู้อาวุโสที่สุดจุดรูปเทียนบูชาพร้อมทั้งกล่าวอันเชิญเทวดา มาให้คุ้มครองเด็ก ต่อจากนั้นหยิบสายสิญจน์ในพานมาเส้นหนึ่ง ลูบปัดที่แขนและข้อมือเพื่อปัดเป่าเคราะห์โศกโรคภัยให้ออกไปแล้วจึงผูกข้อมือ ผู้ทำพิธีเอาแป้งกระแจะเจิมที่หน้าผากแล้วใช้ช้อนตักน้ำให้กิน 5 ช้อน พร้อมกล่าวให้พร อันเป็นการเสร็จพิธี ญาติผู้ใหญ่ท่านอื่น ก็ทำการผูกข้อมือให้ครบทุกคน ผู้ใหญ่ท่านใดพอมีฐานะก็สามารถให้สร้อยทองก็ได้   หลังจากเสร็จพิธีแล้ว  จะมีอยู่ 2 กรณีคือ
1. ให้นำเครื่องบายศรีปากชามและเครื่องกระยาบวชไปเทเซ่นผีไว้กลางแจ้ง นอกจากนั้นให้ห่อผ้าวางไว้ข้างเบาะเด็ก 3 วัน แล้วนำผ้านั้นไปลอยในน้ำที่มีการไหลเวียนอยู่เสมอเช่น แม่น้ำ เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคล
2.ให้ร่อนกระด้ง หมุนไป 3 รอบ แล้วโยน(ยื่นเบาๆ)ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งรับกระด้งนั้นไว้  ถือว่ารับเป็นแม่อีกคน ตามคำโบราณที่เคยได้ยินกันว่า เด็กทุกคนที่เกิดมาจะมีแม่ซื้อประจำตัว (แม่ซื้อคือเทวดาข้างกายทารกต่าง ๆ ประจำวันเกิดทั้ง 7 ) ชาวบ้านเชื่อว่าแม่ซื้อคือผีที่มีจิตใจริษยา และอาจทำให้เด็กไม่สบายได้  แม่ซื้อทั้งเจ็ดตนนี้ แต่ละตนจะสำแดงเดชให้ทารกได้รับความเจ็บป่วยแตกต่าง ๆ กันไป เช่น ทำให้ปวดท้อง อาเจียน ร้องไม่หยุด หรือบางครั้งก็มีอาการหวาดผวา จึงมีการร่อนกระด้ง ว่า สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ลูกของใคร ใครเอาไปเน้อ" ฝ่ายพ่อแม่ก็จะรับว่าเป็นลูกตน คนทำพิธีก็จะส่งลูกให้ แม่ซื้อเดิมก็จะรู้ว่าทารกนั้นเป็นลูกคนแล้ว และจะไม่มารบกวนอีก



วัฒนธรรมการแต่งกายไท-ยวน ของบ้านนาขุนแสน


ในปัจจุบันนี้ชาวบ้านในหมู่บ้านนาขุนแสน จะใส่ชุดไท-ยวน เฉพาะเวลาไปทำบุญหรือมีเทศกาลงานบุญเท่านั้น  โดยปกติจะใส่เสื้อผ้าธรรมดาทั่วไป 

เครื่องแต่งกายหญิง

เครื่องแต่งกายชาย




อาหารพื้นบ้าน บ้านนาขุนแสน

ในเรื่องของอาหารการกิน หมู่บ้านนาขุนแสนก็จะมีอาหารเด่นๆอยู่หลายอย่าง ทั้งขนมเส้นน(ขนมจีน) น้ำพริก บัวลอยยวน ข้าวต้มมัด ยำหน่อไม้ หลามบอน เป็นต้น

แกงหยวก

บัวลอยยวน



วิถีชีวิต
ชาวบ้านในหมู่บ้านนาขุนแขนจะอยู่กันอย่างพอเพียง มีการทำเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักสวนครัว มีการจักสานพวกของใช้ไว้ใช้เอง เช่น ตะเข่ง เปลไม้ไผ่ ตะกร้า และมีการจัดจำหน่ายเพื่อให้เพื่อนบ้านไปใช้บ้าง มีการเก็บผักตามข้างลำห้วยสองสายที่กล่าวมาตั้งแต่แรกแล้ว เช่น ผักกรูด ผักบุ้ง เก็บหน่อไม้ เก็บเห็ดและเก็บสมุนไพรในป่าสาธารณะที่ขึ้นตามฤดูกาล มาจำหน่ายและบริโภคเองด้วย 




ความเชื่อ

ในส่วนของความเชื่อ ชาวบ้านจะมีการนับถือผีปู่ผีย่า การที่จะให้ผู้อื่นเข้าพักบ้านของตนเองนั้น ต้องทำการเลี้ยงผีหรือบอกกล่าวก่อน โดยมีข้อห้ามในการเข้าพักอยู่ว่า ชาย-หญิงที่เป็นแฟนกัน หรือเป็นผู้ที่ยังไม่ได้มีการสมรสกันตามประเพณีจะไม่ให้อยู่ด้วยกัน จะต้องแยกกันอยู่คนละห้อง มิเช่นนั้นจะถือว่าผิดผี บ้านนั้นจะไม่มีความเจริญ ไม่มีความสุขในการอยู่บ้าน

ชุมชนบ้านนาขุนแสนมีแม่น้ำลำภาชีไหลผ่าน จึงมีสะพาน "มิตรภาพชุมพล" หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า "สะพานไทยวน" เป็นสะพวนที่คนในชุมชมใช้ในการเดินทางข้ามแม่น้ำเพื่อไปมาหากัน สะพานมีสีสันที่สวยงาม


สะพานมิตรภาพชุมพล หรือ สะพายไท-ยวน

 แม่น้ำลำภาชี และ สะพานไท-ยวน

แม่น้ำลำภาชียามเย็น






นอกจากนี้ชุมชนบ้านนาขุนแสนยังมีต้นยางใหญ่อายุกว่า 200 ปี ธรรมชาติร่มรื่นและที่สวยงาม ให้ดูและพักผ่อนหย่อนใจ

ต้นยางใหญ่ อายุกว่า 200 ปี ขนาดประมาณ 10 คนโอบ

สวนป่าสาธารนะชุมชน





บ้านนาขุนแสนยังได้มีการจัดการท่องเที่ยวชุมชน โดยให้ชาวบ้านที่สนใจในการเปิดบ้านเป็นโฮมสเตย์ รับนักท่องเที่ยวที่สนใจในวัฒนธรรมไท-ยวน บ้านนาขุนแสน ได้มีการประชุม ปรึกษา และออกความคิดเห็น ในการเปิดรับนักท่องเที่ยว


บรรยากาศภายในชุมชมไม่ร้อนมาก เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังบ้างพักจะรู้สึกถึงความร่มรื่นที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ต่างๆ อากาศที่ดีมีOบ้านพักแต่ละหลังที่เปิดให้เข้าพัก มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เช่น ห้องน้ำที่สะอาด ห้องครัว ผ้าห่ม หมอน มุ้ง โทรทัศน์ พักลม ภายในชุมชนมีจักรยานไว้ให้ผู้เข้าพักได้ไว้ใช้ในการเดินทางไปไหนมาไหน โดยการประหยัดพลังงานเพิ่มพลังกาย แถมสุขภาพดี แทนการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์






แอดมินเป็นนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ได้เดินทางไปเข้าพัก บริเวณรอบๆบ้านจะเป็นต้นไม้ร่มรื่น หน้าบ้านจะมีต้นไม้ดอกสวยงาม ภายในบริเวณห้องพักก็จะมีสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ เช่น พัดลม โทรทัศน์ หมอน ผ้าห่ม เป็นต้น เจ้าของบ้านมีความเป็นกันเอง
ที่พัก



 ภายในบ้านพัก


ภายในชุมชนบ้านนาขุนแสนที่เปิดบ้านให้พัก แต่ละหลังก็จะมีกฎข้อห้ามไว้ใช้เหมือนกันทุกหลัง เช่น
-ห้องสามีภรรยา หรือ คู่รักนอนบ้านหลังเดียวกัน
-ห้ามออกไปไหนเกิน 4 ทุ่ม
-ห้ามพูดจาหยาบคาย
-ห้ามพูดลบหลู่สิ่งศักสิทธิ์
-ห้ามพูดท้าทายสิ่งที่มองไม่เห็น
-ห้ามเล่นปิดแอบ หรือ เล่นซ่อน หลังพระอาทิตย์ตกดิน
เป็นต้น



การมาเข้าพักโฮมสเตย์บ้านนาขุนแสนได้เข้าใจวิถีชีวิต ได้ซึมซับธรรมชาติ ยังได้เรียนรู้การทำอาหาร และขนม ของชาวไท-ยวน การตำพริกแกงเผ็ดฉบับไท-ยวนบ้านนาขุนแสน และยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดอีก

การทำข้าวต้มมัด


การห่อข้าวต้มมัด


 ส่วนผสมพริกแกงเผ็ด


คลุกเคล้าส่วนผสม


พริกแกงใสเครื่องปั่น


พริกแกงเผ็ดออกมาแล้ว


ก้อนเห็ดนางฟ้า


เล้าเห็ดนางฟ้า




ก้อนเห็ดที่เชื้อเห็ดเดินเต็ทพร้อมออกดอก



ดอกเห็ดนางฟ้า พร้อมเก็บไปปรุงอาหารได้แล้ว





ตัวอย่างบ้านพักแต่ละหลัง 










สนใจเข้าพัก ติดต่อ
ผู้ใหญ่บ้าน  นางสายสุนีย์   สุขสมพงษ์  โทร 089-820-3142